หน้าแรก เกี่ยวกับโครงการฯ ติดต่อเรา
กำหนดการ
เกณฑ์การพิจารณารางวัล
วิธีการรับสมัคร
คณะกรรมการพิจารณา
รางวัล
ผู้ได้รับรางวัล
คำถามที่ถูกถามบ่อย
ข่าว/กิจกรรม
คุณสมบัติของผู้สมัคร/ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการพิจารณา
  1. ผู้ประกอบการทั้งภาคการผลิตและภาคบริการที่มียอดขายตั้งแต่ประมาณ 50 ถึง 500 ล้านบาท ต่อปี
  2. ดำเนินกิจการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี
  3. มีการเติบโตของยอดขาย
  4. มีผลประกอบการที่ดี (มีกำไร 2 ปีใน 3 ปี สุดท้าย)
  5. ไม่ตกเป็นข่าวในทางเสื่อมเสีย อย่างน้อยตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
  6. มีผู้บริหารเป็นบุคคลสัญชาติไทย
  7. มีการคำนึงถึงความเสี่ยงของการดำเนินกิจการ
  8. ผู้สมัคร/ผู้ได้รับการเสนอชื่อแต่ละรายอาจมีความโดดเด่นในการประกอบธุรกิจที่ต้องการให้คณะกรรมการพิจารณามากกว่า 1 มิติก็ได้

หมายเหตุ : ผู้สมัคร/ผู้ได้รับการเสนอชื่อไม่จำเป็นต้องเป็นศิษย์เก่าของสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์และไม่จำเป็นต้องใช้บริการใดๆ ของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยธนาคารจะไม่มีผู้แทนเข้าร่วมในการตัดสินรางวัลแต่อย่างใด และผู้สมัคร/ผู้เสนอชื่อไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

รายละเอียดมิติของการพิจารณารางวัล

มิติ

รายละเอียด

  1. องค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
    (Sustainable Business Practice)
  • องค์กรที่มีการสร้างผลกระทบทางบวกต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
  • องค์กรที่มีการสร้างผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจ
  • องค์กรที่มีการสร้างผลกระทบทางบวกต่อสังคม
  • องค์กรที่มีการสร้างผลกระทบทางบวกต่อความเป็นอยู่ที่ดีของแต่ละบุคคล
  • องค์กรมีการนำประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ที่ดี เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์และการดำเนินงานในหน่วยงาน
  1. องค์กรที่มีการสร้างสรรค์ นวัตกรรม
    (Innovative Enterprise)
  • มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่มีระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สูงซึ่งมีความซับซ้อนและแตกต่างจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ในท้องตลาด
  • มีการบริหารจัดการสิทธิบัตรและ/หรือทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆของบริษัทอย่างเป็นระบบ
  • บุคลากรทั่วทั้งองค์กรมีความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องมีตัวชี้วัดเกี่ยวกับนวัตกรรมที่ลงไปในระดับพนักงาน
  • การยกระดับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมให้มีมูลค่าเพิ่มสูงซึ่งสามารถสร้างความต้องการใหม่ของลูกค้า
  1. การบริหารจัดการด้านสินค้าและบริการที่สร้าง ความพึงพอใจให้กับลูกค้า
    (Customer-Focused Product and Service)
  • มีการวิจัยค้นคว้าสามารถสังเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้ใหม่หรือคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต
  • สามารถประสานความร่วมมือข้ามหน่วยงานหรือองค์กรเพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่
  • สามารถติดตามและนำข้อมูลความคิดเห็นกลับมาใช้พัฒนาสินค้าบริการใหม่
  • สินค้าบริการมีคุณภาพยอดเยี่ยมหรือมีลักษณะแตกต่างโดดเด่นในตลาด/อุตสาหกรรมและสร้างคุณค่าความพึงพอใจให้กับลูกค้า คู่ค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร
  1. การบริหารจัดการด้าน การสร้างตราสินค้าและ การตลาด (Branding and Marketing)
  • มีความเข้าใจตลาดและความต้องการลูกค้าสามารถสังเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้ใหม่หรือคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต
  • สามารถกำหนดตลาดเป้าหมายและจุดยืนจากจุดแข็งขององค์กร มี Brand Value Proposition ที่แตกต่างและชัดเจน สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงนำไปสู่โอกาสสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ
  • สามารถบูรณาการกลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารตราสินค้า เพื่อสร้างประโยชน์ได้อย่างสอดคล้อง
  • สามารถสร้างคุณค่า/ยกระดับคุณภาพตลาดและอุตสาหกรรมโดยรวมได้ สามารถขยายสายผลิตภัณฑ์โดยใช้ตราสินค้าเดิมได้สาเร็จ
  1. การบริหารจัดการด้าน การปฏิบัติการ
    (Operational Best Practice)
  • มีการกำหนดวิธีปฏิบัติการเป็นลายลักษณ์อักษรในทุกกระบวนการ มีการฝึกอบรม และทดสอบวิธีการปฏิบัติการ มีการตรวจสอบและพัฒนาวิธีการปฏิบัติการอย่าง ต่อเนื่องและสมํ าเสมอ
  • สามารถประสานความร่วมมือภายในองค์กรและข้ามองค์กรได้เป็นอย่างดี
  • สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือผลิตสินค้าใหม่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล พนักงานในองค์กรสามารถคิดค้น หานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างสม่ำเสมอ
  • สามารถเพิ่มอัตราการผลิตสินค้า/บริการใหม่ๆ ได้มากและอย่างรวดเร็ว และสามารถกระจายสินค้า /บริการไปต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. การบริหารจัดการด้าน การเงิน
    (Financial Strength)
  • • เข้าใจพื้นฐานของธุรกิจและวงจรธุรกิจเป็นอย่างดีเยี่ยมและสามารถจัดการสภาพคล่องทางธุรกิจและบริหารวงจรเงินสดของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถวิเคราะห์กิจกรรมการดำเนินงานธุรกิจและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เกิดกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพและดีเยี่ยม รวมไปถึงมีการเติบโตภายในและมีการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนและเห็นได้อย่างชัดเจน
  • สามารถกำกับดูแลนโยบายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถบริหารความเสี่ยงของธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยมรวมถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผลของธุรกิจที่ชัดเจน
  • มีระบบที่สามารถประเมินมูลค่าในปัจจุบันของกระแสเงินสดและวิเคราะห์มูลค่ากระแสเงินสดได้ดีมาก รวมถึงมีวิธีที่จะวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจให้อยู่รอดได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
  1. การบริหารจัดการด้าน บุคลากร
    (People Excellence)
  • • องค์กรมีระบบและกลยุทธ์อย่างดีในการดึงดูด สรรหา และคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพตามที่องค์กรต้องการในปัจจุบันและอนาคต
  • องค์กรมีระบบและกลยุทธ์อย่างดีในการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถสูงและทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
  • องค์กรมีระบบและกลยุทธ์อย่างดีที่สร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรที่มีคุณภาพทั้งหมดทำงานอยู่กับองค์กรได้นานๆ
  • ผู้นำองค์กรเป็นผู้ลงมือสร้างกลยุทธ์และระบบบริหารการจัดการบุคลากรด้วยตนเอง และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและรักษาบุคลากรในองค์กร
  1. การสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ
    (Entrepreneurship)
  • • ความคิดริเริ่มและแสวงหาช่องทางการทำธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ
  • สามารถบริหารความเสี่ยงได้ดี
  • ความเป็นผู้นำที่โดดเด่นในการนำพาธุรกิจสู่ความสำเร็จความมุ่งมั่นในการต่อสู้และแก้ปัญหา